วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ยางอินเดีย


ยางอินเดีย



ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นครงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสรรแตกต่างกันตามพันธุ์
    ดอก  เกิดภายในฐานรองดอกที่มีรูปยาวรีคล้ายผลออกเป็นคู่ข้างกิ่ง  ดอกเล็ก
    ฝัก/ผล  กลมรี เมื่อสุกสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0 . 8 เซนติเมตร
การปลูก:  ปลูกในแปลงปลูก ปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา:  ชอบดินร่วนซุย ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ชอบแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือ การตอนและการปักชำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    น้ำยางใช้ทำยาง
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศอินเดีย หมู่เกาะมลายู

โกสน


โกสน



ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ทรงพุ่มรูปไข่ แน่นทึบ
          ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน  นอกจากนี้ยังมี
อีกหลายแบบ เช่น กลม แคบยาว บิดเป็นเกลียว ปลายใบแหลมหรือมน มีติ่ง โคนสอบ ชอบเรียบ หรือหยักเว้า
บางพันธุ์เว้าลึกถึงเส้นกลางใบ และเว้นห่างเป็นสองตอนลักษณะและขนาดของใบแปรไปตามพันธุ์  แผ่นใบมี
สีต่างๆ  เช่น  ชาว เหลือง ส้ม ชมพู แดง ม่วงดำ ก้านใบยาว 0.5-5 เซนติเมตร

         ดอก (Flower) :   สีขาว  ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อ
ดอกเพศผู้โค้งลง  ก้านยาว ดอกกลม มีดอก 30-60 ดอก  กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก มี 3-6 กลีบ  กลีบดอก 5-6 กลีบ
ดอกมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง ก้านช่อยาว มีดอก 10-20 ดอก กลีบเลี้ยงแนบรังไข่
ไม่มีกลีบดอก

          ผล (Fruit) :   ผลแห้ง ทรงค่อนข้างกลม เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก ขนาด 1 ซม. มีเมล็ดสีน้ำตาลเป็นกระ 2 เมล็ด
ประโยชน์ : ใบมีสรรพคุณแก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ


สาวน้อยประแป้ง

สาวน้อยประแป้ง

ลิ้งค์ภาพ : http://upic.me/i/uv/r6j13.jpg ลิ้งค์ภาพ : http://upic.me/i/s6/x13_1.jpg  

ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีลักษณะคล้ายพืชในตระกูลเขียวหมื่นปี แต่ใหญ่กว่า  
ต้น : ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนกลมตั้งตรงแข็งแรง มีข้อถี่ แตกใบอ่อนตรงส่วนยอดของลำต้นทีละใบ ก้านใบยาว  ส่วนที่ติดกับลำต้นมีลักษณะเป็นกาบ
ใบ :
 ใบมีรูปร่างยาวเรียวคล้ายใบพาย  โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม บางชนิดแหลมเกือบมน  พื้นใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม 
ด่างสีขาว ครีม หรือเหลือง หรือมีจุดแต้มบนพื้นใบต่างกันไป
ดอก : 
ดอกของสาวน้อยประแป้งมีลักษณะคล้ายดอกหน้าวัว มีกาบอยู่เพียงกาบเดียวหุ้มแท่งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย  โดยเกสรตัวผู้อยู่ส่วนบน และเกสรตัวเมียอยู่ส่วนล่าง ออกดอกเป็นกลุ่มส่วนมากมีสีเขียวอ่อน เวลาบานกาบจะแย้มออกเล็กน้อย  ดอกของสาวน้อยประแป้งบางชนิดมีกลิ่นเหม็นมาก
ประโยชน์ : 
ใบต้มในน้ำมันใช้พอกแก้ปวดท บวมอักเสบตามข้อ หรือทาแก้ฝีปวดบวม ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

credit : http://www.wattano.ac.th/wattano/Web_saunpluak/My%20Hip/212.html

ทองหลาง

ทองหลาง


ลักษณะของพรรณไม้

          ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นบาง สีเทาหรือเปลือกเป็นลายคล้ายเปลือกแตกตื้นๆสีเทาอ่อน และเหลืองอ่อนๆ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมคม หรือบางชนิดมีหนามเล็กๆแหลมคมตลอด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง
          ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ลักษณะใบเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายใบโพธิ์ กว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ยาวประมาณ 35 นิ้ว ผิวใบเรียบ สีเขียวหรือด่างเหลืองๆใต้ท้องใบมีสีขาวขุ่น ก้านช่อยาวประมาณ 3-5 นิ้ว บางชนิดลักษณะใบมนคล้ายกับใบของถั่วพู ใบโตประมาณ 3-4 นิ้ว ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ และบางชนิดใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน
          ดอก : เป็นช่อติดกันเป็นกลุ่มออกตามบริเวณข้อต้น หรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกคล้ายกับดอกถั่วมีสีแดง หรือชมพู กลีบดอกกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ช่อดอกยาวประมาณ 4-8 นิ้ว
          ผล : เป็นฝักแบนโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 15 -30 ซ.ม. เป็นข้อๆสีน้ำตาลเข้ม โคนฝักจะลีบเล็ก ผลแก่ฝักจะแตกที่ปลายอ้าออก ภายในฝักมีเมล็ดเป็นเหลี่ยม บ้างฝักยาวคอดเป็นข้อๆ สีน้ำตาลเข้ม และบ้างฝักแคบ ภายในมีเมล็ด 2-4 เมล็ด
          เมล็ด : ลักษณะรูปร่างกลม สีแสด
          ออกดอก: เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
          การขยายพันธุ์ : ด้วยเมล็ด การปักชำ และ การตอน
          สภาพที่เหมาะสม: ร้อนชื้น อบอุ่น อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 30 องศาเซลเซียส ปริมาณระดับน้ำทะเล 1,200 - 1,800 มิลลิเมตร มีฝนกระจายเป็นเวลาหลายเดือน และมีแสงแดดอย่างเพียงพอตลอดปี สภาพดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ทนต่อสภาพดินเค็ม ทนแล้ง และทนน้ำท่วมได้ดี

สรรพคุณของต้นทองหลาง
  1. ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นไม้มงคลประจำบ้าน
  2. ราก ลำต้น ใบ ดอก เป็นปุ๋ยอย่างดีกับพืช ดูดซับน้ำในดินไว้เลี้ยงลำต้นได้มากกว่าพืชทุกชนิด
  3. เป็นพืชพี่เลี้ยง เป็นพืชที่ปลูกขึ้นก่อนพืชประธาน เพื่อมีหน้าที่ช่วยในการบังร่ม บังลม ช่วยสร้างธาตุอาหาร หาอาหาร และรักษาความชื้นให้กับพืชประธาน คือ ต้นทองหลางเป็นพืชที่โตเร็ว สร้างปุ๋ยได้เนื่องจากที่ปมรากมีบักเตรีที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ มีใบจำนวนมาก ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก ใบแก่ที่ร่วงหล่นจะผุผังกลายเป็นปุ๋ยอยู่ที่ผิวดิน มีเนื้อไม้เป็นชนิดไม้เนื้ออ่อนผุผังได้ง่าย มีรากจำนวนมากกระจายอยู่ในระดับผิวดินและในระดับลึก ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมขังและที่พิเศษ คือสร้างรากใหม่ได้ทุกปี รากเก่าบางส่วนจะผุผัง สลายตัวทำให้เกิดเป็นโพรงอยู่ในดินเป็นท่อระบายอากาศในดิน และเป็นช่อง ให้พืชประธานสามารถแทงรากลงไปได้ง่าย เกษตรกรนิยมปลูกทองหลางไว้ในสวนทุเรียน มังคุด มะไฟ ส่วนใหญ่เป็นในระบบแบบยกร่อง
  4. มีคุณค่าอาหารนึกไม่ถึง คือ ใบทองหลางอุดมด้วยโปรตีนเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ส่วนใบอ่อนเป็นผักยอดฮิตใช้รับประทานร่วมกับเมี่ยงคำ ร่วมกับส้มตำมะละกอ บ้างเป็นผักจิ้มน้ำพริก เป็นผักสดเคียงเมี่ยง ปลาทู ปลาแหนม เป็นต้น

วิธีการดูแลไม้ประดับ

การปลูกเลี้ยงไม้ประดับต้องมีการปฏิบัติดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ไม้ประดับมีความแข็งแรงสวยงามได้นาน จึงควรปฏิบัติต่อไม้ประดับ




1. การให้น้ำ การให้น้ำแก่ไม้ประดับมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต เพราะการให้น้ำมาก/น้อยเกินไป หรือให้น้ำไม่ถูกวิธีทำให้เกิดปัญหากับพืชได้ ดังนั้นการให้น้ำเวลาใดต้องคำนึงถึงความสะดวกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ดินปลูก ความชื้นในดิน ฤดูกาล ชนิดพืช ความเข้มแสง อุณหภูมิ ฯลฯ การให้น้ำที่พอดีจะทำให้พืชมีอายุยืนยาว เจริญเติบโตเร็วและสวยงาม

2. การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยควรพิจารณาความอุดมสมบูรณ์ของวัสดุปลูกเป็นหลัก วัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช ควรเน้นการให้พวกอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออาจให้ปุ๋ยเคมีบ้างเพื่อปรับสภาพในแต่ละช่วงแต่ละฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนจะให้ปุ๋ยในโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสต่ำ และโปรแตสเซียมสูงเล็กน้อย ฤดูฝนจะให้ปุ๋ยไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง ส่วนฤดูหนาวก็จะให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงมากๆ เพื่อกระตุ้นให้พืชตอบสนองต่อการเจริญเติบโต

3. การตัดแต่ง ไม้ประดับหลังจากปลูกไปนานๆ จำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งออกไปบ้างโดยใช้กรรไกรตัดแต่ง หรือมีดคมๆ เพื่อรักษาทรงพุ่มให้สวยงามยิ่งขึ้น บางครั้งอาจมีกิ่งหักเสียหาย กิ่งมีโรคและแมลงเข้าทำลายหรือกิ่งแห้งเหี่ยวก็ควรตัดออก นอกจากต้นไม้จะดูสวยงามขึ้นแล้วยังเป็นการรักษาสุขภาพของต้นไม้ให้ดีขึ้นด้วย4) การเปลี่ยนถ่ายกระถาง ไม้ประดับที่ปลูกลงกระถางเมื่อปลูกเลี้ยงจนโตเต็มที่ควรมีการเปลี่ยนกระถางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเปลี่ยนดินใหม่ที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์กว่าเดิมเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต โดยการเปลี่ยนกระถางไม้ประดับมีขั้นตอน ดังนี้         

              1. เลือกกระถางใหม่ตามขนาดที่ต้องการมาล้างทำความสะอาด                

              2. เตรียมวัสดุปลูกเพื่อใส่ในกระถาง                                                       

              3. นำต้นพืชออกจากกระถางเก่า และแซะดินเก่าออกประมาณครึ่งหนึ่ง                                                                             
              4. นำต้นพืชลงปลูกในกระถางใหม่ที่ใส่วัสดุปลูกรองพื้นไว้ และเติมวัสดุปลูกลงไปให้เกือบถึงขอบกระถาง กดวัสดุปลูกให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม


credit : http://www2.it.mju.ac.th/dbresearch/raebase/index.php/base-learning/product1/garden-tree/44-care

วิธีการปลูกไม้ประดับ

วิธีการปลูก




เมื่อเลือกกระถางตามความเหมาะสมกับต้นไม้ที่จะปลูกแล้ว เราเริ่มปลูกตามขั้นตอนดังนี้
1.เอาเศษอิฐ หรือเศษกระถางแตก อุดที่รูระบายน้ำที่ก้นกระถางเสียก่อน ถ้าจะให้ดีต้องโรยทับด้วยกรวด อิฐมอญทุบ หรือถ่านอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ เพื่อให้ก้นกระถางโปร่ง และระบายน้ำได้ดี

2.จากนั้นเอาดินหรือเครื่องปลูกที่เตรียมไว้ใส่กระถาง และทำมูลดินเป็นยอดแหลมเท่ากับความลึกของดินที่ปลูก

3.ก่อนปลูกหากไม้มีรากมากเกินไปควรตัดรากเก่าออกบ้าง เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างระบบรากใหม่ที่แข็งแรง และแตกแขนงได้มากขึ้น

4.วางโคนต้นไม้ลงบนยอดแหลมของมูลดิน และจัดระบบรากให้แผ่ออก รอบด้าน และทิ้งตัวลงตามแนวลาดของมูลดิน

5.เติมดินรอบๆโคนต้น เพียงเล็กน้อยก่อน แล้วกดดินบริเวณรอบๆโคนต้นเบาๆ เป็นการไล่โพรงอากาศ และเพื่อให้ดินสัมผัสรากพืชได้กระชับขึ้น
จากนั้นเติมดินและกดเบาๆ จนเกือบเต็มกระถาง ให้ระดับดินอยู่ต่ำกว่าขอบกระถางพอประมาณ พยายามอย่าเติมดินจนเต็มหรือพูนกระถางจนเกินไป เพราะเวลารดน้ำจะทำให้น้ำไหลออกนอกกระถาง แทนที่จะซึมลงกระถาง และเลอะเทอะพื้น แต่ถ้าเติมดินน้อยเกินไป ก็จะทำให้ดินยุบตัวจนเกิดรากลอย หรือทำให้บริเวณโคนต้นชื้นเกินไป เป็นสาเหตุให้เกิดโรคราได้ง่ายขึ้น


credit : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=531002

ประเภทของไม้ประดับ

แบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.ประเภทไม้ประดับภายในอาคารหรือในร่มรำไร
เป็นกลุ่มพืชที่ต้องการแสงน้อย-ปานกลาง ส่วนมากจะปลูกอยู่ในอาคารสำนักงานที่มีแสงน้อย แดดส่องถึงบ้าง อุณหภูมิไม่สูงนัก พืชกลุ่มนี้ได้แก่ แก้วหน้าม้า พืชตระกูลฟิโลเดนดรอนและมอนสเตอรา เดหลี เป็นต้น

2.ประเภทไม้ประดับภายนอกอาคารหรือกลางแจ้ง
เป็นกลุ่มพืชที่ต้องการแสงมากตลอดทั้งวัน ส่วนมากปลูกประดับอยู่ภายนอกอาคารหรือตามสนามต่างๆ พืชกลุ่มนี้ได้แก่ โกสน พืชตระกูลปาล์ม เป็นต้น


แบ่งตามชนิดของพันธุ์ไม้ได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.ไม้ยืนต้น ไม้ประเภทนี้มีลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีลำต้นหลัก ลำต้นตรง ต้นเดียวแล้วจึง แตกกิ่งก้านบริเวณยอด มีอายุหลายปี ได้แก่ ปาล์มต่างๆ จันทร์ผา เป็นต้น



2.ไม้พุ่ม ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีเนื้อไม้หรือมีเนื้อไม้เล็กน้อยบริเวณโคนต้น ได้แก่ หนวดปลาหมึกแคระ โมก เล็บครุฑ เป็นต้น 


3.ไม้ล้มลุก
 มีลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีเนื้อไม้ หรือมีเนื้อไม้เล็กน้อยบริเวณโคนต้น ได้แก่ กล้วยประดับ  สับปะรดสี เป็นต้น
 


4.ไม้เลื้อย เป็นพืชที่ลำต้นมีเนื้อไม้หรือไม่มีเนื้อไม้ อายุปีเดียวหรือหลายปี ลำต้นเลื้อยไปตามดินหรือพัน สิ่งที่อยู่ใกล้เคียง โดยอาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการเกี่ยวยึด ได้แก่ ม่านบาหลี  โมกเครือ กระเทียม เถา เป็นต้น

credit : http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/base-learning/product1/garden-tree/40-gardentree-3